
ข้อเข่าเสื่อมคืออะไร
อาการข้อเข่าเสื่อมเป็นอาการที่เกิดจากกระดูกข้อต่ออ่อนลงเนื่องมาจากการสึกหรอ การใช้งานหนัก และการเสื่อมลงตามวัย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้หญิง แต่การใช้ชีวิตประจำวันก็ทำให้เกิดการสึกหรอได้ไม่ว่าจะเป็นการเดินขึ้นบันได การวิ่ง หรือแม้กระทั่งการเล่นกีฬาที่ผิดท่า ทำให้เกิดการข้อเข่าเสื่อมได้
ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม
- อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นข้อเข่าจะเริ่มเสื่อมลงตามธรรมชาติ ความสามารถในการรักษาข้อเข่าเสื่อมก็จะลดลงตามวัย
- น้ำหนักที่มากเกินไป เนื่องจากข้อเข่าจะเป็นตัวที่ช่วยรับน้ำหนักของร่างกายหากมีน้ำหนักมากเกินไปข้อเข่าก็ยิ่งเสื่อมไวขึ้น
- การบาดเจ็บของข้อเข่า เช่น การเกิดอุบัติเหตุ กระดูกแตกหรือกระดูกร้าว หมอนรองกระดูกเสื่อม อาการเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเสื่อมในอนาคต
- การใช้งานข้อเข่าที่หนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นจากการทำอาชีพต่าง ๆ เกษตรกร ผู้รับเหมาก่อสร้าง การยกของหนัก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมทั้งสิ้น
- การขาดสารอาหารสำคัญที่ทำหน้าที่ในการเสริมสร้างกระดูกและข้อให้แข็งแรง โดยเฉพาะ แคลเซียม วิตามินดี และแคลเซียม
- กรรมพันธุ์และการผิดปกติของร่างกาย เช่น คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม ก็มีโอกาสที่จะส่งต่อให้ลูกหลานในอนาคตได้ การผิดปกติของร่างกาย เช่น ขาโก่ง ขาเก เข่าผิดรูป ก็ทำให้เสี่ยงต่อการข้อเข่าเสื่อมได้
อาการของข้อเข่าเสื่อม
- ปวดเข่าระหว่างทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เดินขึ้น – ลงบันได
- ข้อเข่าฝืด
- มีเสียงดังเมื่อขยับข้อเข่า
- ข้อเข่าบวม มีรูปร่างที่ผิดแปลกหรือเปลี่ยนไป
- เคลื่อนไหวได้ลำบาก
วิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อม
การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับโรค และอาการที่เป็น แต่ปัจจุบันมีการรักษาที่ไม่ต้องพึ่งการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว สามารถรักษาข้อเข่าเสื่อมให้ดีขึ้นได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต
- การลดน้ำหนัก เป็นวิธีช่วยได้มากที่สุดเพราะแรงกดทับกระดูกจะมากกว่าน้ำหนักถึง 4 เท่า
- หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ หรือการยืนนาน ๆ
- ใช้ที่ช่วยพยุงเข่า หรือใส่รองเท้าพื้นนุ่ม เพื่อช่วยลดแรงกระแทก
2. การออกกำลังกายเฉพาะทาง
- การเดินในน้ำ เพื่อให้น้ำช่วยในการพยุงเข่า
- การเล่นโยคะ หรือพิลาทิสเบา ๆ
- บริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา
3. การทำกายภาพบำบัด
- การนวดบำบัด หรือการยืดกล้ามเนื้อ
- การใช้ความร้อน หรือความเย็น เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
- การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ เพื่อกระตุ้นไฟฟ้า
4. การใช้ยาหรืออาหารเสริมบำรุงข้อเข่า
- การใช้ยาแก้ปวด เพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาต้านการอักเสบ
- อาหารเสริมที่ช่วยบำรุงข้อเข่า เช่น อาหารเสริมแคลเซียม อาหารเสริมแมกนีเซียม
5. การฉีดยาเข้าข้อเข่า (ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ)
- กรดไฮยาลูรอนิก เพื่อหล่อลื่นข้อเข่าลดการเสียดทาน
- เกล็ดเลือดเข้มข้น เพื่อกระตุ้นการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ
- สเตียรอยด์ สำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรงชั่วคราว
รักษาข้อเข่าเสื่อม ไม่ต้องผ่าตัดเหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่มีอาการที่ไม่รุนแรง ระยะเริ่มต้นถึงระยะปานกลาง
- เหมาะกับผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะกับการดมยาสลบหรือไม่เหมาะกับการผ่าตัด
- เหมาะกับผู้ที่หลีกเลี่ยงการพักฟื้นนาน
- เหมาะกับผู้ที่ยังสามารถเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวันได้อย่างคล่องแคล่ว
สรุป
การรักษาข้อเข่าเสื่อม อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป ขึ้นอยู่กับอาการของข้อเข่า หากมีอาการที่หนักก็ควรที่ผ่าตัดข้อเข่าเพื่อได้ผลในการรักษาที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามควรดูแลรักษาข้อเข่าให้ดีออกกำลังกายให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร